หน้าเว็บ



วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Learning About Adobe Premiere Pro 1.5

1. Starting a new project


เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา  Adobe Premiere จะให้คุณเลือก  ว่าจะเปิด project ใหม่ หรือ
เปิดงานเดิมที่เคยทำไว้  ดังรูป   1. New Project    2. Open Project

2. setup New Project  
คุณสามารถปรับค่าขนาดของโปรเจ็คได้ตามความต้องการ 1. คือ การเลือก ประเภทของวีดีโอ 2. คือ การปรับขนาด frame size 3. คือ การปรับขนาด Pixel Aspect Ratio 4. การปรับความเร็วของ เฟรม ค่ามาตฐานของ VCD คือ 25 fps มาตฐานของ DVD คือ 29 fps 5.การปรับ ค่า Audio 6. เพื่อเลือกเสร็จแล้วให้ตั้งชื่อ Project  และ save file



หลังจากนั้นให้ค่าขนาดของโปรเจ็คได้ตามความต้องการพร้อมกำหนดสถานที่ในการจัดเก็บงาน     ดังในรูป หมายเลข  1 คือ การเลือกรูปแบบของมาตฐานวิดีโอ . หมายเลข  2  คือ การเลือกสถานที่จัดเก็บงาน  หมายเลข  3  คือ การตั้งชื่อ ไฟล์ เพื่อจัดเก็บ


Main  Window  About Adobe Premiere Pro 1.5

เมื่อตั้งชื่อ โปรเจ็กแล้ว OK สักครูจะขึ้นวินโดว์ที่เป็นหน้าต่างงานดังภาพซ้ายมือ ที่เราพอที่จะแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนหลัก ๆ คือ
1)  main manu         
2) ส่วนที่เป็นหน้าต่างของโปรเจ็ก
3)ส่วนที่แสดงภาพให้เห็นเรียกหน้าต่างมอนิเตอร์ Monitor
4) ส่วนที่แสดง Timeline เรียกหน้าต่างทามไลน์  
5 )Tool Option
6)ส่วนที่เป็นข้อมูลการทำงานต่าง ๆ เรียกหน้าต่าง History เดี๋ยวทำไปด้วยจะทำความรู้จักมันไปด้วย
 
 
 
 
การ Inport  File
Video formats    ที่ใช้งานได้   AVI, MOV, MPEG/MPE/MPG, DML, and WMV
Audio formats:  ที่ใช้งานได้AIFF, AVI, MOV, MP3, WAV, WMA

 
 
 
A) File - Import....(คลิก) เพื่อที่จะไปเอาภาพที่เตรียมไว้เข้ามาทำงาน
 
 
 
 
1) จากที่เรา อิมพอร์ทไฟล์ภาพเข้ามา ภาพจะมาลงที่หน้าต่าง โปรเจ็ก   จะเรียงกันอยู่ในลักษณะใดนั้นอยู่ที่เราจะตั้งค่ามัน ดังภาพวินโดว์โปรเจ็กด้านล่างขวามื
2) ลากลงไปวางไว้ที่ TimeLine ในช่อง Video 1 (คลิกเม้าท์ที่ชื่อไฟล์ค้างไว้แล้วลากลงไปวางในตำแหน่งชนขอบด้านหน้าสุด)





Timeline  มีองค์ประกอบดังนี้
a =  เป็นช่องทำงานสำหรับวีดีโอ สามารถเพิ่มช่องทำงานได้
b = เป็นช่องสำหรับโชว์ key frames
c = ทำหน้าที่ในการซ่อนและแสดงเมนู
d = ทำหน้าที่ในการเปิด – ปิด การดู  ภาพวีดีโอ
e = เป็นช่องทำงานของ เสียง มีไว้สำหรับปรับค่าเสียงต่างๆ
f = มีหน้าที่ในการปรับระดับเสียง

Locking and unlocking tracks


ในการทำงานเราสามารถ  ล๊อกการทำงาน ของ  tracks vdo  และ  audio  ได้  โดยคลิ๊กที่ ไอคอน  ใน track ที่ต้องการ

Moving around in the Timeline window


Time navigation controls    ประกอบด้วย
A. Current-time indicator  เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่ เราทำงานว่าถึงนาทีเท่าไร
B. Viewing area bar   เป็นส่วนที่แสดงขอบเขตในการทำงานของ track
C. Work area bar       เป็นส่วนที่ระบุช่วงในการแสดงผล 
D. Time ruler            เป็นส่วนวัดของช่วงเวลาในการทำงาน
E. Zoom out             มีหน้าที่ในการขยายเฟรม
F. Zoom slider            มีหน้าที่ในการเลื่อน ลด และขยาย เฟรม 
G. Zoom in                มีหน้าที่ในการลดเฟรม

การตัดต่อภาพและเสียง

การตัดต่อภาพและเสียง
การตัดต่อภาพและเสียงมีหลักการเดียวกันกับการสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือแอนิเมชั่นที่เอาภาพนิ่งมาเรียงต่อเนื่องกัน นั่นหมายความว่า ในการสร้างหนัง 1 เรื่อง ก็เป็นการนำคลิปภาพยนตร์สั้นๆมาเรียงต่อๆกัน ในขณะเดียวกันก็นำคลิปเสียงมาเรียงต่อๆกันและเล่นไปพร้อมๆกันโดยซ้อนกันอยู่เหมือนทางคู่ขนาน  เข้าใจไหมครับ เหมือนรถ 2 คัน ออกสตาร์ทและวิ่งไปพร้อมกัน จูงมือกันไป ด้วยความเร็วเท่ากันเป๊ะ ดังนั้นเมื่อเราดูภาพเคลื่อนไหว เราก็จะได้ยินเสียงไปด้วยพร้อมๆกันนั่นเอง และนี้ละที่เป็นที่มาของการตัดต่อภาพและเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถสนองความต้องการของเราได้นั้นมีมากมาย แต่สำหรับผมขอสาธิตการใช้งานโปรแกรม Adobe Premiere Pro ครับ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.เปิดโปรแกรม Adobe Premiere Pro

2. สร้างโปรเจคใหม่ คลิก >New Project>เลือก DV –PAL>Standard 48kHz>คลิก ok>เลือกที่เก็บโปรเจค>ตั้งชื่อโปรเจค>คลิก ok แล้วจะได้หน้าตาแบบนี้

009-02.jpg

3. หน้าตาจะคล้ายกันกับ After Effects คือมีที่เก็บต้นฉบับ (ที่เก็บคลิปทั้งภาพและเสียง) มีจอแสดงผล แต่ใน Premiere Pro มีจอสำหรับทำ effect ด้วยซึ่งใช้งานเหมือน After Effects แต่ที่ต่างออกไป คือที่ Time Line มี 2 ส่วนคือ ส่วนบนเป็นที่วางคลิปวีดิโอ และส่วนล่างซึ่งก็มีจุดเริ่มต้นเดียวกัน สำหรับวางคลิปเสียง ให้เล่นไปพร้อมกันนั่นเอง

4. ทดลองทำงานโดยการ Import คลิปที่เราทำกันมาใส่ไว้ในโปรเจคด้วยการคลิก File>Import

5. คลิปวีดิโอและเสียงที่เรา Import จะมาปรากฏอยู่ที่ๆเก็บคลิป ให้แดรกคลิปวีดิโอที่เราต้องการให้แสดงก่อนลงมาก่อนแล้วก็แดรกคลิปวีดิโออื่นๆตามลงมา ในส่วนของเสียงก็แดรกลงมาเช่นเดียวกัน ลงมาอยู่ที่แทรกของเสียง

009-05.gif

6. หลังจากนั้นก็จะเป็นการหรี่เสียง และภาพ (Fade) เพื่อให้รอยเชื่อมต่อระหว่างคลิปดูนุ่มนวล โดยการคลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมที่ Time Line แล้วเลือก Show Opacity Handle สำหรับวีดิโอ และเลือก Show Clip Volume สำหรับเสียง

009-06.gif

7. ทำการพล็อตจุดลงบนเส้น

009-07.gif

8. ลากจุดที่อยู่ริมทั้งสองฝั่งลงล่างสุด

009-08.gif

9. ทดลองเล่นดูผลงาน

009-09.gif

10. สุดท้ายก็เป็นการ Export ผลงานออกเป็น ภาพยนตร์ 1 เรื่องในรูปแบบ AVI โดยคลิก
File>Export>Movie>ตั้งชื่อ>Save แล้วเราก็จะได้หนัง animation 1 เรื่องจนได้ในที่สุด ดีใจด้วยนะครับ

การตัดต่อภาพยนต์ด้วยโปรแกรมAdobe Premiere Pro CS3

หลังจากExportไฟล์ภาพเคลื่อนไหวจากโปรแกรมToon Boom Studio ออกมาเป็นไฟล์AVIแล้ว ก็ทำการImportไฟล์AVIเหล่านั้นลงมาในโปรแกรม Premiere Pro CS3 และนำมาจัดเรียงตามบทภาพ (Story Board) ตัดต่อให้มีจังหวะเหมาะสม ทำการใส่เสียงบรรยากาศ(Sound Effect) และเสียงดนตรีประกอบ(Music)
1. เมื่อเปิดโปรแกรมแล้ว เลือกที่File>Import


4.25 ภาพแสดงขั้นตอนการใช้ Premiere Pro ภาพที่1

2. เลือกไฟล์ภาพเคลื่อนไหวที่ต้องการทำมาตัดต่อ เลือกOpen


4.26 ภาพแสดงขั้นตอนการใช้ Premiere Pro ภาพที่2

3. ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวจะเข้ามาอยู่ในช่องทางซ้าย ทำการลากไฟล์มาวางในTime line และทำการตัดต่อ

4.27 ภาพแสดงขั้นตอนการใช้ Premiere Pro ภาพที่3

กกกกกกกก3.1. การตัดต่อภาพและเสียง

กกกกกกกกในภาพยนตร์อนิเมชั่นเสียงมีความสำคัญมากเพราะเสียงสามารถสร้างบรรยากาศให้กับภาพได้ ดนตรีประกอบสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนดูให้เชื่อมโยงกับตัวละครและเรื่องราวของหนัง ดังนั้นการตัดต่อภาพและการตัดต่อเสียงจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกัน มีความสำคัญเท่าๆกัน ในภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ มีการตัดต่อภาพและเสียงด้วยการจัดเรียงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวก่อนลงเสียง และทำการตัดต่อให้มีจังหวะที่ลงตัว


4.28 ภาพแสดงขั้นตอนการตัดต่อ

กกกกกกกก3.2. การExportFile

กกกกกกกกเมื่อทำการตัดต่อจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็ทำการExport Fileออกมา โดยการเลือก File>Export>Export to Encore โปรแกรมAdobe Encore จะเขียนไฟล์ของเราออกมาเป็นDVD


4.29 ภาพแสดงขั้นตอนการ Export File ด้วย Premiere Pro